วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555


การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต  
แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตควรดำเนินการดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้นผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กำหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กำหนดช่วงเวลาที่ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้าง
 2. ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือมีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม(Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์(Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation) จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในกาให้บริการการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต
3. การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้ ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้งNetwork Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network
Adapter ที่เหมาะสมสำหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ต นอกจากอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์(ComputerLiteracy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
4. บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการเช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการ

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุม
โลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่
www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  
การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  
การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
                E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้
                เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลก
             ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่องของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา
สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่งที่มีความ สำคัญ คือ
     ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น
     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
      ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่นหนังสือเวียน แจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบหรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น
       การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทางของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา
       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของ
แฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย
      ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์

กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์

เป็นการติดต่อสื่อสาร  ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ที่คล้ายกับการเขียนข้อความ  ไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้  แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์  ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย  ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ  แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับ  แต่ละเรื่อง  เช่น  กรณีเว็บไซต์  www.pantip.com  เป็นต้น  นอกจากนั้น  เว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ชุมชน สำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน  ใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย เอกสาร รูปภาพ ฯลฯ

ห้องสมุด คือแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการคัดเลือกและจัดหาเข้ามาอย่างทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่างๆอย่างเป็นระบบ

 ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
การศึกษาในปัจจุบัน มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ มาประกอบความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในชั้น ผู้เรียนจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเข้าใช้ห้องสมุด เพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของห้องสมุดอาจประมวลได้ ดังนี้
          1. ห้องสมุดเป็นที่รวมของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา ที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษานั้น
          2. ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
          3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่างๆโดยไม่รู้จักจบสิ้น เป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
          4. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
          5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีนิสัยรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
          6. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรับรู้ในสมบัติสาธารณะ รู้จักใช้และระวังรักษาอย่างถูกต้อง

          ห้องสมุดทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ดังนี้
          1. เพื่อการศึกษา ห้องสมุดทุกแห่งจะรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความรู้ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ในการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองได้ตามต้องการ
          2. เพื่อความรู้ข่าวสาร ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ๆและทันสมัยเสมอ
          3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาต่างๆ
          4. เพื่อความจรรโลงใจ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภททำให้ผู้ใช้มีความซาบซึ้งประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในทางสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
          5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือนันทนาการ ห้องสมุดจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความสนุก บันเทิงใจไว้บริการ เช่น นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลิน

           ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายและมีประโยชน์ ดังนี้
          1. ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
          2. กระตุ้นให้รักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า
          3. ก่อให้เกิดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
          4. เป็นสื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอน
          5. ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เฉพาะบุคคล

Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์



Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว  แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ  ประการแรก  สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก  หากจะนำมาดิจิไทซ์  (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล  ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง  ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน  ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์  แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้  ในกรณีที่ต้องการแปลงสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เป็นสารสนเทศแบบดิจิทัลเพื่อนำออกเผยแพร่  ยังไม่มีกฎหมายหรือหลักการที่เป็นสากลว่าด้วยเรื่องนี้   หากยังต้องอาศัยการตกลงกันเองระหว่างคู่กรณีเป็นรายๆ ไป ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง  อย่างไรก็ตามการแปลงสิ่งพิมพ์เป็นสารสนเทศดิจิทัลนั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ  เพื่อการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์เก่าๆไว้เอกสารที่เป็นกระดาษนั้น  หากจัดเก็บถูกวิธีอาจสามารถอยู่ได้นับพันปี  เช่น  เอกสารที่ทำด้วยกระดาษปาปิรัส สมัยอียิปต์หรือบาลิโลเนียยังมีหลงเหลือให้เห็นได้ตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ  ของโลก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  หนังสือหรือเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีอายุใช้งานเพียง  100 -  200 ปีเป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น  หนังสือเรื่อง  The Pilgrim Kamanita  ซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เสถียรโกศ  และนาคประทีป  นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทย  ชื่อ กามนิต  วาสิฏฐี  นั้น ขณะนี้เหลืออยู่ที่  The British Museum ที่กรุงลอนดอนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  และอยู่ในสภาพถูกเก็บตาย  เพราะกระดาษกรอบหมดแล้ว นำมาเปิดอ่านไม่ได้ เอกสารทำนองนี้ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และต้องหาวิธีอนุรักษ์ไว้ให้ได้เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า  และบางอย่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ วิธีอนุรักษ์วิธีหนึ่ง คือ การนำมากราดตรวจ  หรือ  ถ่ายภาพหน้าต่อหน้า แล้วบันทึกใส่ซีดีรอม  (CD-ROM) ไว้  อย่างไรก็ตามซีดีรอมเองก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายนัก  เชื่อกันว่าสามารถจะเก็บได้นาน 30 – 50 ปี เท่านั้น  แต่ถ้ามีการทำสำเนาก่อนที่ซีดีรอมแผ่นนั้นจะหมดอายุ ก็สามารถเก็บไปได้ตลอด  เพราะการทำสำเนาข้อมูลดิจิทัลนั้นจะได้สำเนาที่มีคุณภาพเท่าต้นฉบับดิจิทัล ไม่มีการเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำสำเนาเหมือนระบบอนาลอค  ดังนั้น ห้องสมุดดิจิทัลจะสามารถให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ   ที่มีอายุมากๆได้

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต  
แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตควรดำเนินการดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้นผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กำหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กำหนดช่วงเวลาที่ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้าง
 2. ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือมีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม(Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์(Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation) จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในกาให้บริการการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต
3. การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้ ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้งNetwork Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network
Adapter ที่เหมาะสมสำหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ต นอกจากอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์(ComputerLiteracy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
4. บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการเช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการ

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุม
โลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่
www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  
การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  
การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
                E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้
                เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลก
             ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่องของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา
สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่งที่มีความ สำคัญ คือ
ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเองไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่นหนังสือเวียน แจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบหรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้นการส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทางของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดาไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของ
แฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์

กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์

เป็นการติดต่อสื่อสาร  ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ที่คล้ายกับการเขียนข้อความ  ไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้  แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์  ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย  ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ  แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับ  แต่ละเรื่อง  เช่น  กรณีเว็บไซต์  www.pantip.com  เป็นต้น  นอกจากนั้น  เว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ชุมชน สำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน  ใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย เอกสาร รูปภาพ ฯลฯ

ห้องสมุด คือแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการคัดเลือกและจัดหาเข้ามาอย่างทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่างๆอย่างเป็นระบบ

 ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
การศึกษาในปัจจุบัน มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ มาประกอบความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในชั้น ผู้เรียนจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเข้าใช้ห้องสมุด เพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของห้องสมุดอาจประมวลได้ ดังนี้
          1. ห้องสมุดเป็นที่รวมของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา ที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษานั้น
          2. ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
          3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่างๆโดยไม่รู้จักจบสิ้น เป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
          4. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
          5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีนิสัยรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
          6. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรับรู้ในสมบัติสาธารณะ รู้จักใช้และระวังรักษาอย่างถูกต้อง

          ห้องสมุดทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ดังนี้
          1. เพื่อการศึกษา ห้องสมุดทุกแห่งจะรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความรู้ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ในการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองได้ตามต้องการ
          2. เพื่อความรู้ข่าวสาร ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ๆและทันสมัยเสมอ
          3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาต่างๆ
          4. เพื่อความจรรโลงใจ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภททำให้ผู้ใช้มีความซาบซึ้งประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในทางสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
          5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือนันทนาการ ห้องสมุดจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความสนุก บันเทิงใจไว้บริการ เช่น นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลิน

           ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายและมีประโยชน์ ดังนี้
          1. ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
          2. กระตุ้นให้รักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า
          3. ก่อให้เกิดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
          4. เป็นสื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอน
          5. ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เฉพาะบุคคล

Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์



Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว  แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ  ประการแรก  สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก  หากจะนำมาดิจิไทซ์  (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล  ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง  ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน  ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์  แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้  ในกรณีที่ต้องการแปลงสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เป็นสารสนเทศแบบดิจิทัลเพื่อนำออกเผยแพร่  ยังไม่มีกฎหมายหรือหลักการที่เป็นสากลว่าด้วยเรื่องนี้   หากยังต้องอาศัยการตกลงกันเองระหว่างคู่กรณีเป็นรายๆ ไป ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง  อย่างไรก็ตามการแปลงสิ่งพิมพ์เป็นสารสนเทศดิจิทัลนั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ  เพื่อการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์เก่าๆไว้เอกสารที่เป็นกระดาษนั้น  หากจัดเก็บถูกวิธีอาจสามารถอยู่ได้นับพันปี  เช่น  เอกสารที่ทำด้วยกระดาษปาปิรัส สมัยอียิปต์หรือบาลิโลเนียยังมีหลงเหลือให้เห็นได้ตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ  ของโลก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  หนังสือหรือเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีอายุใช้งานเพียง  100 -  200 ปีเป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น  หนังสือเรื่อง  The Pilgrim Kamanita  ซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เสถียรโกศ  และนาคประทีป  นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทย  ชื่อ กามนิต  วาสิฏฐี  นั้น ขณะนี้เหลืออยู่ที่  The British Museum ที่กรุงลอนดอนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  และอยู่ในสภาพถูกเก็บตาย  เพราะกระดาษกรอบหมดแล้ว นำมาเปิดอ่านไม่ได้ เอกสารทำนองนี้ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และต้องหาวิธีอนุรักษ์ไว้ให้ได้เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า  และบางอย่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ วิธีอนุรักษ์วิธีหนึ่ง คือ การนำมากราดตรวจ  หรือ  ถ่ายภาพหน้าต่อหน้า แล้วบันทึกใส่ซีดีรอม  (CD-ROM) ไว้  อย่างไรก็ตามซีดีรอมเองก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายนัก  เชื่อกันว่าสามารถจะเก็บได้นาน 30 – 50 ปี เท่านั้น  แต่ถ้ามีการทำสำเนาก่อนที่ซีดีรอมแผ่นนั้นจะหมดอายุ ก็สามารถเก็บไปได้ตลอด  เพราะการทำสำเนาข้อมูลดิจิทัลนั้นจะได้สำเนาที่มีคุณภาพเท่าต้นฉบับดิจิทัล ไม่มีการเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำสำเนาเหมือนระบบอนาลอค  ดังนั้น ห้องสมุดดิจิทัลจะสามารถให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ   ที่มีอายุมากๆได้